ไอแอลอาร์เอฟ ร้องสิทธิรวมตัวของแรงงานข้ามชาติ ยุติปัญหาใช้แรงงานบังคับในอุตฯอาหารทะเลไทย

05/01/20

ในวันแรงงานสากล  สภาสิทธิแรงงานนานาชาติ ไอแอลอาร์เอฟ (International Labor Rights Forum, ILRF) เรียกร้องให้ รัฐบาลไทย บริษัทอาหารทะเลต่าง ๆ และผู้ซื้อในระดับโลก รับรองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองของแรงงานข้ามชาติ เพื่อยุติปัญหาการใช้แรงงานบังคับที่แพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย

“การจัดให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง อันเป็นสิทธิที่ยอมรับในระดับสากล มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดการกับต้นตอสาเหตุที่ซ่อนเร้นในปัญหาการใช้แรงงานบังคับ สิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้จะทำให้แรงงานสามารถแก้ไขปัญหาอำนาจที่ไม่เท่าเทียม ที่อนุญาตให้นายจ้างและนายหน้าจัดหางานที่มักเอาเปรียบ สามารถกักขังคนงานและใช้ประโยชน์จากแรงงานได้” คิมเบอร์ลี่ โรโกวิน ผู้ประสานงานรณรงค์อาหารทะเลอาวุโส และผู้เขียนรายงาน กล่าว

รายงาน 'ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแบบไพศาล : เหตุใดแรงงานข้ามชาติจึง ต้องมีสิทธิด้านสหภาพแรงงานเพื่อป้องกันการ ใช้แรงงานบังคับในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย' (หรือ Time for a Sea Change:  Why union rights for migrant workers are needed to prevent forced labor in the Thai seafood industry) ตีพิมพ์เผยแพร่ฉบับภาษาไทยวันนี้ ชี้ระบุประเด็นปัญหาหลัก ๆ ที่ห้ามไม่ให้แรงงานข้ามชาติ จัดการกับการละเมิดสิทธิแรงงานด้วยตนเอง โดยประเด็นที่สำคัญที่สุดคือการที่แรงงานข้ามชาติถูกห้ามโดยกฎหมายไทย ไม่ให้จัดตั้งสหภาพแรงงานของตนเอง หรือ ทำหน้าที่เป็นผู้นำสหภาพ ทั้งนี้ แรงงานส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม อาหารทะเลเป็นแรงงานข้ามชาติการปฏิเสธสิทธิเหล่านี้ จึงเป็นการห้ามไม่ให้แรงงานส่วนใหญ่เข้าเจรจาเพื่อ ต่อรองเรื่องค่าจ้างและสภาพการทำงาน รวมไปถึงการชดเชยจากการถูกละเมิดต่าง ๆ ที่ดีขึ้น พวกเขายังขาดการเข้าถึงกลไกการร้องทุกข์ของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพและยังถูกฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นประมาทเมื่อรายงานว่า มีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้น

สิทธิในการรวมตัวมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด 19 ช่วงเวลาเช่นนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แรงงานมีการรวมตัวที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีผู้แทนแรงงานที่ชอบธรรมในสถานประกอบการ ที่สามารถสื่อสาร ตอบคำถาม ข้อกังวลกับพวกเขาได้ เหล่านี้จะทำให้พวกเขาสามารถป้องกันตนเองและชุมชนของเขาได้ นายจ้างและรัฐบาลจำเป็นต้องมีช่องทางที่ชัดเจนในการสื่อสารกับแรงงาน และตัวแทนของพวกเขา ที่เกี่ยวกับคำสั่งต่าง ๆ จากรัฐบาล และกฎหมาย วิธีการป้องกันตนเพื่อสุขภาพ  และความปลอดภัย ในสถานที่ทำงาน เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในข้อกำหนดการบริการจากภาครัฐและข้อตกลงการจ้างงาน และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และรวมถึงข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัส โควิด19

การผงาดขึ้นของประเทศไทยในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารทะเลระดับโลกได้สร้างความต้องการอย่างมาก สำหรับแรงงานราคาถูกเพื่อมาทำงานในภาคประมงและการแปรรูปอาหารทะเล โดยเป็นแรงงานข้ามชาติหลายแสนคนจากประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้ามาเติมเต็มความต้องการนี้

การทำงานในการประมงพาณิชย์และการแปรรูปอาหารทะเลเป็นหนึ่งในอาชีพที่อันตรายที่สุดและมีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบมากที่สุดทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากการเปิดโปงต่าง ๆ จากนักข่าวสืบสวนและกลุ่มเอ็นจีโอต่าง ๆ ที่เก็บบันทึกข้อมูลไว้ตั้งแต่ปี 2547 มีปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานบังคับในแรงงานข้ามชาติ ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยในวงกว้าง

ถึงแม้จะมีการปฏิรูปและมาตรการต่าง ๆจากรัฐบาลไทย ปัญหาการใช้แรงงานบังคับยังคงพบได้อย่างแพร่หลาย คณะทำงานอาหารทะเล (The Seafood Working Group) เครือข่ายพันธมิตรระดับโลกนำโดย ไอแอลอาร์เอฟ ได้บันทึกรวบรวมการละเมิดสิทธิแรงงานอย่างร้ายแรงในภาคประมงและภาคอื่น ๆ ในปี 2562 และได้เรียกร้องให้กระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาลดอันดับประเทศไทยลงในรายงานการค้ามนุษย์ประจำปี 2563 ในรายงานฉบับล่าสุดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศยังแสดงให้เห็นว่าปัญหาการใช้แรงงานบังคับเรื้อรัง ร้อยละ 14 ของแรงงานประมงและร้อยละ 7 ของแรงงานแปรรูปอาหารทะเลที่ให้สัมภาษณ์ตกอยู่ใน สภาพการถูกบังคับใช้แรงงาน

บริษัทไทยต่าง ๆ และผู้ซื้อปลาและอาหารทะเลในระดับโลกยังล้มเหลวในการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของคนงาน แม้จะมีพันธกรณีภายใต้หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGP) บริษัทอาหารทะเลต่าง ๆ ยังปฏิเสธที่จะเจรจาต่อรองร่วมกับกลุ่มตัวแทนแรงงานข้ามชาติที่จัดตั้งขึ้นภายในสถานประกอบการของตน แต่กลับสนับสนุนให้ลูกจ้างเข้าร่วมใน คณะกรรมการสวัสดิการแทน ซึ่งไม่ได้ให้การคุ้มครองทางกฎหมายที่เหมือน หรือบรรลุผลในข้อตกลงที่บังคับใช้ได้ ในรูปแบบเดียวกันกับสหภาพแรงงานและการเจรจาต่อรองร่วม

แรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยได้เข้าร่วมพยายามอย่างเข้มข้นในการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง ด้วยความสนับสนุนจากสหภาพแรงงานไทย องค์กรแรงงานข้ามชาติสมาพันธ์ แรงงานระดับโลก และตัวแสดงอื่น ๆ ข้อมูลที่แสดงในรายงานฉบับนี้ได้แก่ เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงาน ประมงอันเป็นองค์กรตัวแทนอันเป็นประชาธิปไตยของแรงงานประมงข้ามชาติกว่า 2,000 คน เพื่อปรับปรุง เรื่องค่าจ้างและสภาพการทำงาน และกลุ่มคนงานอุตสาหกรรมอาหารทะเลภาคใต้อันเป็นองค์กรของแรงงานมากกว่า 200 คน ในห้าโรงงานแปรรูปอาหารทะเล

การละเมิดสิทธิแรงงาน – รวมถึงการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง -- ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศถอนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร คิดเป็นมูลค่ารวม 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 39,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ภายใต้ข้อตกลงตามมาตรการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี)

“ประเทศไทยได้ทำลายความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป รวมไปถึงชื่อเสียงของตนใน ระบบเศรษฐกิจโลก การโดนระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ข้อตกลงจีเอสพีของสหรัฐทำให้ประเทศไทย เสี่ยงต่อความสูญเสียเพิ่มเติมกับธุรกิจและเศรษฐกิจไทย หากยังคงไม่เริ่มการปฏิรูปที่เป็นผลที่ต้องเริ่มจากการให้ สิทธิในการรวมตัวกับแรงงานข้ามชาติ” โรโกวิน กล่าว

Issues: 

Industries: 

Countries: